top of page
ค้นหา

เข้าใจกับหน่วย Kbps/Mbps/GB แบบง่าย ๆ

เชื่อว่าหลายคนต้องคุ้นเคยกับคำว่า Kbps/Mbps ซึ่งเรามักจะพบเห็นกันบ่อย ๆ ที่เขียนอยู่ตามโฆษณาอินเทอร์เน็ตจากหลาย ๆ เครือข่ายผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ซึ่งหน่วย Kbps/Mbps คือหน่วยที่ใช้วัดความเร็วของระบบอินเทอร์เน็ตในการส่งข้อมูลต่อหนึ่งวินาที


bps ย่อมาจากคำว่า bits per second คือหน่วยวัดความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลเป็นจำนวนบิตในหนึ่งวินาที ซึ่ง bit ถือเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในการวัดปริมาณของข้อมูล ความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ใช้กันสากลในการรับส่งข้อมูลกันโดยมีหน่วยนับเป็น bit ไม่ใช่ Byte โดย 8 บิตเท่ากับ 1 ไบต์ ไบต์จึงเป็นหน่วยข้อมูลที่มีขนาดใหญ่กว่าบิตและนิยมใช้เป็นหน่วยวัดความจุในการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน่วยในการวัดข้อมูลดังนี้

1 Byte = 8 Bit

1 Kilobyte (KB) = 1024 b

1 Megabyte (MB) = 1024 KB

1 Gigabyte (GB) = 1024 MB

1 Terabyte (TB) = 1024 GB

เมื่อตัวเลขมีค่าสูงมักใช้หน่วยเป็น Kbps/Mbps อย่างที่เราเห็นกันตามสื่อโฆษณานั่นเอง อย่างเช่น 512Kbps,1Mbps,4Mbps ดังตัวอย่างด้านล่าง



ตัวอย่างที่ 1 ดังภาพโฆษณาตัวอย่างนี้เป็นแพ็กเกจเสริมเน็ตดีแทค เล่นไม่อั้นไม่ลดสปีด

ความเร็วสูงสุดที่ 512Kbps ตลอด 7วัน

โปรดังกล่าวเราสามารถเล่นอินเทอร์เน็ตที่ความเร็วสูงสุด 512Kbps ( Kbps ย่อมาจาก Kilobit per second ) เล่นแบบไม่ลดสปีดตลอด 7วัน ความเร็วนี้เหมาะสำหรับการใช้งานในการเปิดเว็บไซต์ทั่วไปเท่านั้นซึ่งอยู่ในระดับที่พอใช้ แชทได้แบบลื่น ๆ แต่ไม่เหมาะกับการดูวีดีโอต่าง ๆ



ตัวอย่างที่ 2 ดังภาพโฆษณาตัวอย่างนี้เป็นแพ็กเกจเสริมเน็ตทรูมูฟเอช เล่นไม่อั้นไม่ลดสปีด

ความเร็วสูงสุดที่ 4Mbps ตลอด 7วัน

โปรดังกล่าวเราสามารถเล่นอินเทอร์เน็ตที่ความเร็วสูงสุด 4Mbps ( Mbps ย่อมาจาก Megabit per second ) เล่นแบบไม่ลดสปีดตลอด 7วัน เป็นแพ็กเกจกลาง ๆ ที่นิยมใช้กันอย่างมากในปัจจุบันความเร็วนี้เหมาะสำหรับการใช้งานในการเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้อย่างสบาย ๆ เล่นโซเชียล เล่นเกมส์ ดูซีรี่ย์กันแบบลื่น ๆ โดยที่แถบจะไม่ค่อยมีปัญหาด้านการกระตุกแน่นอน



ตัวอย่างที่ 3 ดังภาพโฆษณาตัวอย่างนี้เป็นแพ็กเกจเสริมเน็ตเอไอเอส

เล่นเน็ตแบบจำกัดปริมาณ 7GB โดยใช้ความเร็วสูงสุดที่ 4Mbps ตลอด 7วัน

โปรดังกล่าวเราสามารถเล่นอินเทอร์เน็ตที่ความเร็วสูงสุด 4Mbps ( Mbps ย่อมาจาก Megabit per second ) เล่นแบบจำกัดปริมาณที่ 7GB ( GB ย่อมาจาก Gigabyte ) แต่ถ้าหากเราเล่นครบจำนวนที่กำหนดมาแล้ว ความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตก็จะลดเหลือ 128Kbps ทันที ตลอดระยะเวลาในการใช้งาน 7วัน


หน่วย GB จากตัวอย่างที่ 3 นี้ เป็นอีกหน่วยความจุที่เราพบเห็นกันบ่อย ๆ ตามโฆษณาแพ็กเกจเสริมเน็ต คือปริมาณหรือความจุอินเทอร์เน็ต (สังเกตกันง่าย ๆ ถ้าเป็นหน่วยปริมาณ ตัว B จะเขียนด้วยตัวใหญ่เสมอ) โดยย่อมาจากคำว่า Gigabyte (อ่านว่ากิกะไบท์)


เป็นยังไงบ้างคะ ได้ความเข้าใจหน่วยของความเร็ว และหน่วยความจุของปริมาณเน็ตกันไปแล้ว และน่าจะสามารถเลือกสมัครโปรโมชั่นเสริมเน็ตที่เหมาะกับการใช้งานของตัวเองกันแบบง่าย ๆ และไม่งงอีกต่อไป

สำหรับเรื่องราวความรู้ครั้งต่อไปนั้น จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร รอติดตามกันได้เลยนะคะ

ดู 25,971 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page